วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายงานคะเเนนทั้งหมด

ภาพถ่ายของฉัน

รายงานคะเเนนทั้งหมด 1750 คะเเนน

ข้าพเจ้าทําได้  1400 คะเเนน

ไม่รวมe-book

มีลายเซ็นต์ 3 ครั้ง
































วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13-17 ธ.ค 2553



























 

ตอบ 4

อธบาย :  พ่อ แม่หมู่เลือดใด จะมีลูก ที่มีเลือดหมู่ใดได้บ้าง
                   ให้นึกภาพว่ายีน ของคนนั้นจะมีสองอันประกบกันเป็นคู่ อันนึงได้จากแม่ อีกอันได้จากพ่อ และจะแยกตัว ออกเป็นสองข้าง ในเซลล์สืบพันธ์ เพื่อไปจับคู่กับอีกครึ่งหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม

                     ลักษณะของยีน ในหมู่เลือดต่างๆ (โดยยีนนั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)
           
Group A = มียีน AO หรือ AA
        Group B =
มียีน BO หรือ
BB
        Group AB =
มียีน
AB
        Group O =
มียีน OO

          ทีนี้มาดูว่า พ่อกับแม่ แม่หมู่ใด ให้ลูก หมู่ใด ได้บ้าง
  กรณีที่ 1 ทั้งสองฝ่าย group A เหมือนกัน จะเป็นได้ดังนี้
     
ถ้าพ่อแม่เป็น AA+ AA ลูกจะเป็น AA 100 % (Group A ทั้งหมด)
     
ถ้าพ่อแม่เป็น A0 +AA ลูกจะเป็น AO กับ AA อย่างละครึ่ง( แต่ก็เป็น หมู่ A ทั้งหมด)ถ้าพ่อแม่เป็น A0 + AO ลูกจะเป็น AO 50% กับ AA กับ OO อย่างละ 25%      (เป็น หมู่ A 75% กับ O 25%)        ในทางปฏิบัติ คนหมู่ A เราไม่ทราบหรอกครับ ว่ามันเป็น AA หรือ AO แต่จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ลูกก็จะมีโอกาสเป็นได้แค่ หมู่ A หรือ O เท่านั้น
\
  กรณีที่ 2 ทั้งสองฝ่ายหมู่ B เหมือนกัน
     
ก็ จะเหมือนกับ กรณีของ A ข้างบน แต่เปลี่ยนเป็น จาก A เป็น B เท่านั้น
     
กรณีนี้ จะได้ลูกแค่ หมู่ B และ O เท่านั้น

  กรณีที่ 3 ทั้งสองฝ่ายเป็น AB เหมือนกัน จะเป็นดังนี้
     AB+AB
จะได้ ลูก AB 50% กับ AA และ BB อย่างละ 25%
     
กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ AB 50% และ A กับ B อย่างละ 25% ไม่มีหมู่ O เลย

  กรณีที่ 4 ทั้งสองฝ่ายหมู่ O เหมือนกัน จะได้ ดังนี้
     OO+OO
จะได้ลูก เป็น OO 100% กรณีนี้จะได้แต่ลูกหมู่ O เท่านั้น ไม่มีหมู่อื่นปน

  กรณีที่ 5 ฝ่ายหนึ่ง Group A อีกฝ่ายหมู่ B จะเป็นได้ดังนี้
     AA + BB =
ลูกได้ AB 100 %(หมู่ AB ทั้งหมด)
     AO + BB =
ลูกได้ AB ครึ่งนึง กับ BO ครึ่งหนึ่ง (หมู่ AB กับ หมู่ B อย่างละครึ่ง
)
     AA + BO =
ลูกได้ AB กับ AO อย่างละครึ่ง (หมู่ AB กับ หมู่ A อย่างละครึ่ง
)
     AO+BO =
ลูกได้ AB ,AO, BO, OO อย่างละ 25% ( มีได้ทุกหมู่ อย่างละ
25% )
     
กรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าพ่อแม่ คนนึง หมู่ A อีกคน B จะมีลูกได้ ทุกหมู่เลย

  กรณี 6 ฝ่ายหนึ่งหมุ่ A อีกฝ่าย AB จะเป็นได้ดังนี้
     AA + AB
จะได้ลูก AA และ AB อย่างละครึ่ง(ได้ลูกหมู่A และ AB อย่างละครึ่ง)
     AO +AB
จะได้ลูก AA ,AO, AB, BO อย่างละ 25% (ได้ลูกหมู่ A 50% และ หมู่AB กับ หมู่ B อย่างละ 25%)  กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น A อีกฝ่ายเป็น      AB จะได้ลูก หมู่ A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น หมู่ O

  กรณีที่ 7 ฝ่ายหนึ่ง AB อีกฝ่าย B จะเป็นได้ดังนี้
     AB + BB
จะได้ลูก BB และ AB อย่างละครึ่ง(ได้ลูกหมู่ A และ AB อย่างละครึ่ง)
     AB +BO
จะได้ลูก BB ,BO, AB, AO อย่างละ 25% (ได้ลูกหมู่ B 50% และ หมู่AB กับ หมู่ A อย่างละ 25%)        กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น AB อีกฝ่าย      เป็น B จะได้ลูก หมู่ A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น หมู่ O เหมือนกัน กับกรณีที่4

  กรณีที่ 8 ฝ่ายหนึ่ง หมู่ AB อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
     AB + OO
จะได้ AO กับ BO   กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ A กับ B ไม่มี AB และ O

  กรณีที่ 9 ฝ่ายหนึ่ง หมู่ A อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
     AA + OO
ได้ AO ทั้งหมด (หมู่ A ทุกคน)
     AO + OO
ได้ AO กับ OO อย่างละ50%   กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ A กับ O อย่างละครึ่ง ไม่มี หมู่ B กับ AB

  กรณีที่ 10 ฝ่ายหนึ่ง หมู่ B อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
     BB + OO
ได้ BO ทั้งหมด (หมู่ B ทุกคน)
     BO + OO
ได้ BO กับ OO อย่างละ50%   กรณีนี้จะได้ลูก หมู่ B กับ O อย่างละครึ่ง ไม่มี หมู่ A กับ AB

 สรุปจากทั้งสิบกรณี ข้างบนมาให้ดูง่ายๆคือ
          
คนหมู่เลือด A +A = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
          
คนหมู่เลือด B+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด
B,O
          
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกหมู่ ยกเว้น
O)
          
คนหมู่เลือด O+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น

          
คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกหมู่
          
คนหมู่เลือด A+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกหมู่ ยกเว้น O)
          
คนหมู่เลือด B+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกหมู่ ยกเว้น
O)
          
คนหมู่เลือด AB+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ
B
          
คนหมู่เลือด A+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ
O
          
คนหมู่เลือด B+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ
O
          
คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด
A.,B,AB,O
               
แต่ถ้าเราสามารถระบุไปถึง ระดับยีนได้ ว่าเป็นตัวไหน ก็พยากรณ์ได้แคบลงตามตัวอย่างข้างบน (อาจจะดูได้โดยดูจากประวัติครอบครัว เช่น คนที่ หมู่ A หรือ หมู่ B ที่มาจาก พ่อแม่ ที่เป็น AB +AB ย่อมเป็น หมู่A ที่มี ยีน AA หรือ หมู่ B ที่มียีน BB เป็นต้น

ิที่มา : http://pirun.ku.ac.th/~b5141038/Section%201.htm



ตอบ  2

อะิบาย พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจี เอ็ม โอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง

พืชดัดแปลงพันธุกรรมกับความปลอดภัย

การพิจารณาว่าจี เอ็ม โอ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ/หรือ สิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องผ่านการทดลองหลายด้านเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและมีบทบาท ในสิ่งแวดล้อมต่างๆกันไป และก่อนที่ผู้ผลิตรายใดจะนำเอาจี เอ็ม โอ หรือผลผลิตจากจี เอ็ม โอแต่ละชนิดออกสู่ผู้บริโภคนั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตพันฑ์จี เอ็ม โอ ทุกชนิด ทั้งที่นำมาเป็นอาหาร หรือที่นำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในทางพาณิชย์มีความปลอดภัยแล้ว บางคนคิดว่าจีเอ็มโอคือสารปนเปื้อนที่มีอันตราย ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะจี เอ็ม โอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จี เอ็ม โอนั้นคือ “สิ่งไม่มีชีวิต” ที่เป็นผลพวงจากการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติตามอย่างที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะการสุกงอมที่ช้าลงกว่าปรกติ การดัดแปลงพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงซึ่งให้ประโยชน์ต่อมนุษย์สูง เป็นต้น ดังนั้นการใช้คำว่า “ปนเปื้อน” ในกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ ”ปนเปื้อน” มีความหมายในลักษณะที่ไม่ต้องการให้มี เช่นไม่ต้องการให้อาหารมีการปนเปิ้อนของสารปรอทหรือสารหนูปนเปื้อนในอาหารเป็นต้น ดังนั้น จีเอ็มโอไม่ใช่สารปนเปื้อนแน่นอน

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1


ตอบ 2

อธิบาย : เพดดิกรีแสดงลักษณะตาบอดสี                           
 ลูกสาวของชายหญิงคู่นี้เป็นพาหะของลักษณะตาบอดสีหรือไม่
 ในกรณีใดบ้าง  ที่ครอบครัวจะมีลูกสาวตาบอดสีได้
 เพราะเหตุใดลักษณะตาบอดสีส่วนใหญ่จะปรากฏในเพศชาย
 นักเรียนคิดว่าจำเป็นต้องทดสอบภาวะตาบอดสีประกอบการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในบาง
 อาชีพหรือไม่

         ลักษณะตาบอดสี  เป็นลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนด้อย  กำหนดให้ c แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาบอดสี และ C แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาปกติยีนคู่นี้อยู่บนโครโมโซม X ดังนั้นสัญลักษณ์แทนยีนจึงเขียนเป็น  Xc และ  XC  สำหรับจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลักษณะตาบอดสี แสดงได้ดังตาราง 4.2

ตาราง4.2 แสดงจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลักษณะตาบอดสี                                             
         ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮดรจีเนส ควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X เช่นเดียวกับภาวะตาบอดสี ผู้ที่ขาดเอนไซม์ดังกล่าวนี้จะมีอาการแพ้ยาและอาหารบางชนิดอย่างรุนแรง เช่น แพ้ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมาลาเรีย และยาแก้ปวดลดไข้บางชนิด ในประเทศไทยมีผู้ขาดเอนไซม์ชนิดนี้ถึง 12% ของประชากรเพศชาย

         ลักษณะด้อยที่ควบคุมยีนที่อยู่บนโครโมโซม X จะพบในเพศชายได้บ่อยกว่าลักษณะด้อยที่ควบคุมด้วยยีนที่อยู่บนออโตโซม   ทั้งนี้เนื่องจากเพศชายมีโครโมโซม X เพียง 1 โครโมโซมซึ่งรับมาจากแม่ ลักษณะด้อยที่ถ่ายทอดมาจากแม่จึงปรากฏได้ในลูกชาย แม้ว่าแม่จะไม่แสดงลักษณะนั้นๆก็ตาม ส่วนลักษณะด้อย ที่ควบคุมด้วยยีนบนออโตโซมนั้น จะปรากฏก็ต่อเมื่อลูกได้รับยีนด้อยที่ตำแหน่งดังกล่าวทั้งจากพ่อและแม่

 ให้นักเรียนอธิบายการถ่ายทอดลักษณะด้อยที่ควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม X ในเพศหญิง

หมู่เลือด

         ที่ผ่านมานักเรียนได้ศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมซึ่งควบคุมด้วยยีน 1 คู่ ที่มี 2 แอลลีล  คือแอลลีลเด่นและแอลลีลด้อย ส่งผลให้มีฟีโนไทป์เพียง 2 แบบ ยังมีลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะที่ควบคุมด้วยที่มีมากกว่า 2 แอลลีล ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาต่อไป

         ยีนที่กำหนดลักษณะหมู่เลือด ABO ของคนมี 3 แอลลีล คือ IA,IB  และ I ทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนติเจนบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยแอลลีลเด่นคือ IAและ  IB ทำให้เซลล์สังเคราะห์แอนติเจนชนิด A และชนิด B ตามลำดับ ส่วนแอลลีลด้อยคือ I เป็นแอลลีลที่ไม่สามารถสังเคราะห์แอนติเจน A หรือ B จึงไม่ปรากฏแอนติเจนทั้งสองบนผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดงดังนั้นหมู่เลือด ABO มีจีโนไทป์

ที่มา : http://km.vcharkarn.com/other/mo6/56-2010-07-14-09-20-24


ตอบ 1

อธิบาย : ไบรโอไฟต์มักขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื้น เช่น ก้อนหิน เปลือกไม้ พื้นดิน เป็นต้น แต่บางครั้งเราอาจพบไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่บนวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ท่อน้ำพีวีซี พื้นซีเมนต์ ตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น ไบรโอไฟต์เป็นพืชบกสีเขียวที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ไม่มีดอก และไม่มีรากที่แท้จริง มีไรซอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะ การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ภายในของต้นโดยผ่านเซลล์ได้ทุกเซลล์ ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงได้นิยมนำไบรโอไฟต์มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (bioindicator) โดยเฉพาะเพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบทางด้านมลพิษในอากาศ เพราะไบรโอไฟต์สามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง         
          ไบรโอไฟต์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต ไบรโอไฟต์มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของป่าในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพืชบุกเบิกในธรรมชาติ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าที่รกร้างและแห้งแล้ง ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ที่สำคัญเซลล์ของไบรโอไฟต์ มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับน้ำได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว สามารถดูดซับได้ถึง 200-500% ของน้ำหนักแห้ง พืชกลุ่มนี้จึงเปรียบเหมือนฟองน้ำของป่าที่ช่วยดูดซับน้ำให้กับผืนป่า ไบรโอไฟต์จึงนับว่าเป็นพืชตัวน้อยที่นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าเป็นอย่างมากกลุ่มหนึ่ง       
           ปัจจุบันมีการนำไบรโอไฟต์มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น นำมาจัดตู้ปลา จัดสวน หรือแม้แต่นำมาเป็นวัสดุช่วยปลูกกล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าวิจัยในการสกัดสารเคมีจากไบรโอไฟต์บางชนิด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น มอสส์สกุลข้าวตอกฤาษี (Sphagnum) สามารถรักษาอาการตกเลือดอย่างเฉียบพลัน และโรคที่เกี่ยวกับตา (Pant, 1998) สำหรับประเทศไทยการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศที่มีการปลูกไบรโอไฟต์เป็นสินค้าส่งออกสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรมีจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีตลอดไปด้วย 

ที่มา : http://www.biotec.or.th/brt/index.php?option=com_content&view=article&id=132:bryophyte-suntree&catid=58:plant&Itemid=52 




ตอบ 1

อธิบาย :
ไข้หวัดนก (อังกฤษ: Avian influenza หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี เรียกกันว่าไข้หวัดสเปน โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก
การระบาดของไข้หวัดนก สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก โดยเฉพาะในประเทศไทยและเวียดนาม มีการฆ่าสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ในฟาร์มไปหลายล้านตัว เพื่อระงับการแพร่กระจายของโรค

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%81